Friday 10 July 2009

การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานของโลหะกับอุณหภูมิ

การเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานของโลหะกับอุณหภูมิ
1. ความต้านทานของโลหะกับอุณหภูมิ (Temperature Versus Resistance of Metallic)
โลหะเกิดจาการรวมอะตอมในสถานะของแข็ง ซึ่งในแต่ละอะตอมจะมีตำแหน่งการสั่นที่ซ้อนทับกันและพลังงานความร้อนจะสมดุลกัน คุณสมบัติที่สำคัญของโลหะอยู่ที่ว่าในแต่ละอะตอมจะมีอิเล็กตรอน 1 ตัว เรียกว่า “ วาเลนซ์อิเล็กตรอน “ (valance electron ) ที่สามารถเคลื่อนที่ผ่านวัตถุได้อย่างอิสระซึ่งกลายเป็นอิเล็กตรอนตัวนำ ( conduction electron )
เมื่ออิเล็กตรอนเคลื่อนที่ผ่านวัตถุอะตอมแต่ละตัวจะเกิดการกระแทกกับอะตอมที่อยู่กับที่ ( stationary atom ) หรือโมเลกุลของวัตถุ
เป็นผลทำให้เกิดพลังงานความร้อนขึ้น อะตอมก็จะสั่นและทำให้อิเล็กตรอนการนำสั่นด้วย ทำให้มีการเคลื่อนที่ของอิเล็กตรอนและมีการดูดกลืนพลังงานเกิดขึ้น นั่นคือ ขณะนี้วัตถุดังกล่าวจะกลายเป็นตัวต้านทานการไหลของกระแสไฟฟ้า และจะมีการสั่นสะเทือนมากขึ้นหากได้รับความร้อนเพิ่มขึ้น


2. การประมาณค่าความต้านทานกับอุณหภูมิ ( Resistance Versus Temperature Approximation )


รูปที่1 เส้น L แสดงการประมาณค่าความต้านทานกับอุณหภูมิระหว่าง T1และT2

การประมาณค่าความเป็นเชิงเส้น ( linear approximation ) คือการหาค่าจากสมการเส้นตรงซึ่งพล๊อตระหว่างค่าความต้านทานเทียบกับอุณหภูมิ ( R-T curve ) ในบางช่วงที่ต้องการ

No comments:

Post a Comment