Friday 10 July 2009

การเลือกเครื่องมือวัด ( Selection of the Instrument )

การเลือกเครื่องมือวัด ( Selection of the Instrument )
การเลือกเครื่องมือวัดใด ๆ ที่ให้เป็นไปตามความต้องการหรือตอบสนองได้เต็มที่ จะขึ้นอยู่กับ
คุณสมบัติในการปฏิบัติงานของเครื่องมือวัดแต่ละชนิดรวมไปถึงราคา แต่โดยทั่วไปการเลือกอุปกรณ์นั้นจะขึ้นอยู่กับค่าสูงสุดของ “อัตราส่วนของการใช้จ่าย” หรือ “ทรานส์เฟอร์ฟังก์ชัน” ของการลงทุนซึ่งคิดได้จากอัตราส่วนดังต่อไปนี้
ราคาค่างวดที่ใช้สอย
ราคาค่างวดที่จำเป็น
มีการพิจารณาหลาย ๆ ปัจจัยที่จะเกี่ยวข้องกับการเลือกเครื่องมือวัด ซึ่งประกอบไปด้วยหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. คุณภาพของเครื่องมือวัด เกณฑ์ของราคา
1.1 คุณสมบัติของความแน่นอน ความเที่ยงตรง และส่วนประกอบอื่น ๆ เช่น ความไว ความเป็นเชิงเส้น ฮิสเตอร์รีซีส ค่าดริฟต์ศูนย์และดริฟต์ความไว เดดแบนด์ เป็นต้น
1.2 ธรรมชาติและชนิดของความสามารถทางด้านข้อมูล เช่น แบบแอนะล็อก แบบดิจิตอล
แบบต่อเนื่อง หรือแบบสุ่ม
1.3 ธรรมชาติและชนิดของการอ่านค่าออก เช่น ตัวบันทึกค่า หรือตัวบอกค่า เป็นต้น
1.4 ธรรมชาติของการคำนวณข้อมูล (หากว่าต้องการ)
1.5 คุณสมบัติของการรบกวนสัญญาณของทรานสดิวเซอร์ และความมั่นคงของระบบ เมื่อมีการขยายสัญญาณแล้วส่งออกไป หรือมีการแปลงข้อมูลไปอยู่ในรูปอื่น
1.6 คุณสมบัติของผลตอบสนองทางพลวัตร ถ้าสัญญาณอินพุตเปลี่ยนแปลงไปกับเวลา
1.7 ความรู้สึกไว (susceptibility) ต่อการรบกวนของสิ่งแวดล้อมที่รบกวน
2. การพิจารณาในแง่ความสะดวก เกณฑ์ความเหมาะสม
2.1 มีความเหมาะสม (suitability) สำหรับงานที่จะใช้ เช่น ใช้ในห้องทดลอง ในสนาม หรือ ทั้งสองข้อรวมกัน
2.2 ความสามารถในการดัดแปลง (adaptability) เมื่อใช้กับค่าทางอินพุตหลาย ๆ ค่าที่แตกต่างกัน เช่น การขยายสเกล การเปลี่ยนย่าน เป็นต้น
2.3 ง่ายต่อการปรับแต่ง เมื่อจำเป็น
2.4 ง่ายและสะดวกต่อการวิเคราะห์พฤติกรรมของเครื่องมือวัด
2.5 ต้องมีความทนทานของวัสดุที่ประกอบ และการออกแบบถูกหลักเกณฑ์ ไม่ยุ่งยากต่อการใช้งาน
2.6 มีส่วนประกอบที่ป้องกันการใช้งายของผู้ที่ไม่เกี่ยวข้อง (fool-proof)
2.7 พิจารณาการบำรุงรักษา การซ่อม ความเหมาะสมในการติดตั้ง และการบริการที่มั่นคง
2.8 ต้องมีระบบบอกความพร้อมในการทำงานด้วยตัวมันเอง หรือความสามารถตรวจสอบตัวเองได้ในกรณีที่เครื่องมือวัดทำงานผิดปกติ
2.9 มีความปลอดภัยต่อการใช้งาน
2.10 มีรูปร่างที่เหมาะสม รูปทรงสวยงาม และจำเป็นต้องมีตัวห่อหุ้มหรือปกปิด ต่อสภาวะแวดล้อมการใช้งาน
3. ราคาในสภาวะแรกและงบที่อาจจะบานปลาย
3.1 ราคาเบื้องต้นของเครื่องมือวัด ราคาในการติดตั้ง และราคาค่างวดอื่น ๆ
3.2 ราคาในการปรับแต่ง การซ่อม การบำรุงรักษา เป็นต้น
3.3 ราคาในการปฏิบัติงาน
3.4 การพิจารณาอายุการใช้งาน หรือส่วนประกอบอื่น ๆ ที่สามารถจะทดแทนเข้ากันได้ กับเครื่องมือแบบเดียวกัน
จากหัวข้อด้านบนพบว่าเราจะต้องพิจารณาในหลาย ๆ ด้าน ซึ่งคะต้องทำการศึกษาทั้งทาง
ด้านบวกและด้านลบ และพบว่าการพิจารณาเรื่องคุณภาพหรือแง่ของเกณฑ์ราคา เป็นแง่ที่พิจารณามากที่สุดสำหรับการใช้งาน

No comments:

Post a Comment